top of page
BKKDW 2020 o-d-a
Design Plant 2020

‘Mediator’
ที่คั่นประตู
เปิดรับ Pre-Order

วันนี้ - 9 กุมภาพันธ์ 2020
ราคาพิเศษเพียง 999 บาท

---

การใช้สัญชาตญาณในการแก้ปัญหาของคนท่ัวไปเป็นส่ิงน่าสนใจที่พบเห็นได้ในชีวิตประจําวัน สถานการณ หน่ึงที่เราสนใจคือตอนท่ีใครสักคนต้องการที่จะหยุดบานประตูเอาไว้ด้วยวัตถุอะไรก็ตามเท่าท่ี พวกเขามีหรือพอจะหาได้ในบริเวณนั้น สิ่งของที่ไม่เคยถูกออกแบบมาเพื่อคั่นบานประตูจะถูกนํามาพลิกแพลงใช้ด้วยมุมมองใหม‹ท่ีพวกเขาคิดข้ึนเอง บวกกับอีกสิ่งหนึ่งที่เราสนใจคือถังหล่อปูนที่คนทั่วไปประดิษฐ์ขึ้นด้วยตัวเองเพื่อใช้งานสำหรับเป็นฐานถ่วงน้ำหนัก เรานำพฤติกรรมทั้งสองอย่างมาพิจารณาร่วมกันแล้วออกแบบใหม่โดยขยับรูปทรงของวัตถุให้ดูมีส่วนร่วมกับสถาณะการณ์ตรงหน้ามากยิ่งขึ้น โดยคิดต่อว่‹าถ้าของส่ิงน้ันมีชีวิต มันก็คงจะใช้สัญชาติญาณในการปรับตัวเช่นเดียวกันเพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ใหม่ท่ีตัวเองไม่ทันได้เตรียมใจมาตั้งแต่แรก

---

‘Bangkok Cab’
Mini Photos Serie
Small Prints
ขนาด ~ A4 (21 x 29.7 cm)
กระดาษ Epson Hot Press Bright
เปิดรับ Pre-Order

วันนี้ - 9 กุมภาพันธ์ 2020
จำนวนจำกัด 15 ชุด สำหรับ Design Plant
1 ชุด มี 2 ภาพ / ชุดละ 2,999 บาท

(ไม่รวมกรอบ)

---

กรุงเทพ + สะดวกซื้อ ‘ความเป็นกรุงเทพที่ซื้อไปใช้งานได้ทันที’ หากสังเกตุ Wall Art หรือภาพตกแต่งผนังที่วางขายในหลายๆ ที่ บางทีเราจะพบกับภาพวิวทิวทัศน์ หรือสถานที่สำคัญของเมืองใหญ่ อยู่ในภาพเหล่านี้ เช่น ภาพหอไอเฟล ที่เมืองปารีส, สะพานโกลเด้นเกท ของเมืองซานฟรานซิสโก หรือแม้แต่ภาพการจราจรของเมืองนิวยอร์ค บางทีคนซื้อก็ไม่เคยเดินทางไปเมืองเหล่านั้นแต่ก็ยังนำมันมาติดผนังบ้านด้วยความรู้สึกว่า ‘มันสวยดี’ เราสนใจอยากทำเรื่องนี้ด้วยการนำเสนอภาพถ่ายที่แสดงความเป็นกรุงเทพฯ เป็นสินค้าให้คนซื้อหาไปติดผนังบ้าน หรือมองมันเป็นสินค้าที่ระลึกจากเทศกาลบางกอกดีไซน์วีค ในพื้นที่นิทรรศการ ‘สะดวกซื้อ’ ของ Design Plant เราอยากทดลองขยายขอบเขตความเป็นผลิตภัณฑ์ด้วยการเอางานภาพถ่ายส่วนตัวที่ถ่ายด้วยวิธีคิดแบบการทำงานออกแบบมาเป็นสินค้าที่สื่อความหมาย ที่ชัดเจนและตรงประเด็นในความเป็นกรุงเทพฯ แบบที่ Design Plant สนใจอยากทำให้ชัดเจนมานำเสนอในนิทรรศการ

---

THINKK TOGETHER 03
/ WHY DO WE NEED
ANOTHER CHAIR

13 Respect the Nature

Chair Name: Respect the Nature

by o-d-a

เราลองค้นหาแนวทางของเก้าอี้ที่เหมาะสมสำหรับการทำงานในครั้งนี้ โดยดูผลงานที่ทำจากไม้ด้วยวิธีการแบบธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ เราสนใจเก้าอี้เตี้ยที่มีพนักสูงประเภทหนึ่งที่เกิดจากการนำระนาบสองแผ่นมาขัดเข้าด้วยกันเป็นกากบาท ส่วนปลายช่วงบนของขาหลังใช้เป็นที่นั่ง และส่วนบนของขาหน้าต่อกับส่วนที่เป็นพนักพิง ถ้าลองค้นหาในกูเกิ้ลด้วยคำว่า “African Chair” ก็จะพบกับรูปภาพของเก้าอี้ในลักษณะนี้มากมาย เราอยากใช้การขัดกันแบบง่ายๆ นี้มาลองทำเป็นผลงานของตัวเองดูบ้างเพราะชอบท่าทีของเก้าอี้ตัวนี้ ความเอียงอย่างมากของพนักพิงเหมือนบอกใบ้ให้จิตใจปล่อยวางบนระดับที่นั่งที่ค่อนข้างเตี้ย ความรู้สึกถ่อมตนบนสัดส่วนที่ดูสบายทำให้เราเห็นความสัมพันธ์โจทย์ที่เราได้รับ นั่นก็คือ Respect Nature

---

D17/20 - Design in South East Asia

thaï-tie’ / ‘ไทย-ไท’
Armchair + Love Seat
Christian Ghion + o-d-a 

Support by Yothaka
Curated by Sarngsan Na Soontorn

 

 

โครงการ D17/20, Design in Southeast Asia เริ่มต้นในปี 2017 โดยสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันฝรั่งเศส กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถาบันฝรั่งเศส กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม และสถาบันฝรั่งเศส เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งโครงการ นี้เป็นความร่วมมือกันในด้านงานออกแบบและงานฝีมือ

ในแต่ละประเทศ จะมีการจัดเวิร์คชอปร่วมกันระหว่างนักออกแบบชาวฝรั่งเศสและนักออกแบบท้องถิ่น พวกเขาจะทำงานในโรงงานที่ผลิตชิ้นงานโดยใช้วัสดุเฉพาะ เช่น ไม้, ไม้ไผ่, หนัง, เครื่องปั้นดินเผา, ผ้าไหม เป็นต้น ประเด็นที่น่าสนใจจึงอยู่ที่การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ในรูปแบบดั้งเดิมและการปรับวิธีการที่ใช้ภาคปฏิบัติไปตามวัสดุเฉพาะนั้นๆ ทั้งนี้นักออกแบบชาวฝรั่งเศส 1 คน และนักออกแบบท้องถิ่น 1 คนจะต้องทำงานจับคู่กัน ตลอดการเวิร์คชอป โดยที่ทั้งคู่สามารถรังสรรค์ผลงานร่วมกัน 1 ชิ้นหรือจะออกแบบผลงานของแต่ละคนก็ได้

นักออกแบบ 43 คน ทำงานร่วมกับโรงงาน 18 แห่ง โดยใช้ไม้หลากหลายชนิด เครื่องปั้นดินเผา หนัง ทองแดง ผ้าไหม วัสดุรีไซเคิลหรือเสื้อผ้า ผ้าฝ้าย ไม้ไผ่ ช่างเย็บ ช่างทอ ช่างเคลือบและช่างเชื่อม รังสรรค์ผลงานมากกว่า 100 ชิ้น

จัดแสดงให้ชมผลงาน

วันที่ 1 – 9 กุมภาพันธ์ 2563
ตั้งแต่เวลา 11.00 น. - 21.00 น.

ณ บ้านตำรวจน้ำ บางรัก

www.design-asean.com

bottom of page